การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ทักษะจำเป็นแห่งยุคนี้ ไม่มีไม่ได้

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ถือเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงมาอย่างยาวนาน นานขนาดไหน? ก็ตั้งแต่ยุคสมัยของนักปรัชญากรีกโบราณอย่าง เพลโตและโสกราตีสโน่นเลยล่ะค่ะ คำว่า Critical มาจากคำภาษากรีก Kritios ซึ่งแปลว่า "สามารถตัดสินหรือแยกแยะได้"

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ยังคงถูกพูดถึงต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เพราะเป็นสิ่งช่วยส่งเสริมทักษะที่จำเป็นอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับมือกับข่าวปลอม การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem Solving) หรือการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ถึงแม้การคิดอย่างมีวิจารณญาณอาจเป็นทักษะที่ดูจับต้องได้ยากเพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในความคิดเท่านั้น แต่ก็เป็นทักษะสำคัญที่สามารถนำไปใช้เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดได้ การคิดอย่างมีวิจารณญาณจึงเป็นทักษะสำคัญที่ ‘ผู้นำ’ และ ‘ทีมทำงาน’ จำเป็นต้องมีเป็นอันดับต้น ๆ ในยุคนี้ค่ะ

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) คืออะไร?

การคิดอย่างมีวิจารณญาณคือความสามารถในการคิดอย่างชัดเจน มีเหตุผล และเข้าใจความเชื่อมโยงเชิงตรรกะ โดยพื้นฐานแล้ว คนที่คิดอย่างมีวิจารณญาณได้นั้นจำเป็นต้องมีความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล เป็นผู้เรียนรู้ที่กระตือรือร้นมากกว่าจะเป็นผู้รับข้อมูลเฉย ๆ ผู้ที่คิดอย่างมีวิจารณญาณจะระบุ วิเคราะห์ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มากกว่าการใช้สัญชาตญาณ

ทักษะที่จำเป็นสำหรับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)

ทักษะที่จำเป็นเพื่อให้สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณได้นั้นมีหลากหลาย เช่น การสังเกต การวิเคราะห์ การตีความ การไตร่ตรอง การประเมินค่า การอนุมาน การอธิบาย การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ

ขั้นตอนการฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)

  1. ต้องคิดเกี่ยวกับหัวข้อหรือประเด็นนั้น ๆ ในทางที่เป็นกลางและเข้าใจความเชื่อมโยงเชิงตรรกะ
  2. กำหนดความสำคัญและความเกี่ยวข้องของข้อโต้แย้ง ระบุข้อโต้แย้งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้น ๆ
  3. ประเมินมุมมองของตัวเองเพื่อพิจารณาว่าแข็งแกร่งหรือถูกต้องเพียงใด รวมทั้งระบุความไม่สอดคล้องและข้อผิดพลาดในการให้เหตุผล
  4. รับรู้ถึงจุดอ่อนหรือจุดลบที่มีอยู่ในหลักฐานหรือข้อโต้แย้ง
  5. สังเกตว่าอาจมีนัยแฝงอยู่เบื้องหลังข้อความหรือข้อโต้แย้ง
  6. ให้เหตุผลเชิงโครงสร้างและสนับสนุนข้อโต้แย้งที่เราต้องการ
  7. แก้ไขปัญหาอย่างสอดคล้องและเป็นระบบ
  8. สะท้อนเหตุผลของสมมติฐาน ความเชื่อ และค่านิยมของตัวเอง

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นทักษะสำคัญที่เรียนรู้และฝึกฝนได้ หากคุณกำลังมองหาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กร ในรูปแบบ Workshop ที่ ‘สนุก’ และ ‘ฝึกให้เกิดทักษะได้จริง’ >>คลิกที่นี่<<

หรือสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

Facebook Page: HippoCampus House

Email: metta@hippocampus.media

Tel: 0884299565, 0916965194 (ในเวลาทำการ)

แชร์บทความนี้: